วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Ericsson และ China Unicom ประกาศเปิด ท่าเรือขนส่งอัจฉริยะ Smart Harbor



   มาแล้ว โครงการท่าเรืออัจฉริยะ หรือเรียกง่ายๆ ว่า Smart Harbor ซึ่งมีการจับมือกันระหว่าง Erisson และ China Unicom ไม่ต้องเดา งานนี้เกิดที่จีนอย่างแน่นอน โดยโครงการนี้เริ่มศึกษาและวางแผนไปเรียบร้อยแล้ว คาดว่าอีกหกเดือนเป็นรูปเป็นร่าง



 นี่คืออีกหนึ่งกุญแจแห่งความสำเร็จในอนาคตเกี่ยวกับธุรกิจขนส่งทางน้ำ ซึ่งท่าเรือท่าเรือที่ต้องอาศัยความฉลาดและล้ำสมัยจากการวางโครงข่ายที่ดี โดย China Unicom เล็งเห็นว่าEricsson จะเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีได้ จึงจับมือกันสร้างโปรเจคนี้ขึ้นมา Smart Habor ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในอีกหกเดือนข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะสามารถประหยัดค่าใค่าใช้จ่ายเรื่องการจ้างงานได้ถึง 70% เลยทีเดียว เมื่อเทียบกับการอัปเกรดท่าเรือดั้งเดิมด้วยโครงข่าย 5G 

 China Unicom และ Ericsson นับว่าเป็นผู้ให้บริการใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ที่ให้บริการเรื่อง 5G โดยจะพัฒนา 5G Smart Habor ที่ Qingdao ในจีน ซึ่งจะมีการพัฒนาด้านแอปพลิเคชั่น 5G เพื่อรองรับ Smart Habor เพิ่มเติมอีกด้วย โดยความร่วมมือนี้ประกาศในงาน MWC 2019 

สำหรับท่า Qingdao เป็นท่าเรือที่ใหญ่ติด 10 อันดับของโลก โดยประมาณการมีตู้คอนเทนเนอร์ 19.3 ล้านตู้ที่ผ่านเข้ามาในแต่ละปี และยังเป็นท่าเรือแรกในเอเชียที่ใช้ระบบอัตโนมัติทั้งระบบตั้งแต่ปี  2017 และจะพัฒนาต่อเนื่องโดยใช้ 5G นั่นเอง

พาร์ทเนอร์ที่ร่วมกันในด้านการผลิต จะมี Shanghai Zhenhua Heavy industries Co., Ltd (ZPMC) ไมีเป้าหมายที่ชัดเจนและทำสำเร็จ ซึ่งการพัฒนาทางด้านเทคนิคเป็นส่วนหนึ่งใน 6 เดือน ของโปรเจค Smart Habor 5G ซึ่งมีการรับรองแล้วในปี 2018 รวมถึงการทำระบบ STS (Ship to shore) เครนที่คอยยกตู้และสิ่งของซึ่งทำงานบนระบบเครือข่าย 5G และมีการควบคุมจากศูนย์กลาง อีกด้วย

ซึ่งการควบคุมผ่าน 5G จะมีความมหน่วงน้อยมาก ซึ่งตรงกับการใช้งานที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลในระดับ มิลลิวินาที เรียกว่าเป็นการทำงานแบบเรียลไทม์ที่เป็นหนึ่งในความสามารถของโครงข่ายแบบ 5G โดยตัวอย่าง การเชื่อมต่อระบบกล้องกว่า 30 ตัว ที่ส่งผ่านข้อมูลกันโดยใช้ PLC ในการควบคุม

ระบบอัตโนมัติในด้านการทำท่าเรือ Smart Habor ผ่านโครงข่าย 5G นับว่าตอบโจทย์ และใครที่วางโครงข่ายพื้นฐาน พร้อมระบบออโมเมตได้พร้อมก่อน ก็จะได้เปรียบในด้านการทำธุรกิจในยุคต่อไป โดยเฉพาะเรื่องการขนส่งทางน้ำที่จริงๆ ประเทศไทยควรหันมาใส่ใจ และศึกษาให้มากกว่านี้ เพราะประเทศไทยเองก็มีท่าเรือที่เรียกว่าเป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยก็ว่าได้

ที่มา iotbusinessnews

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น