วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565

Vodafone เปิดตัว Economy Of Things แพลตฟอร์มใหม่ที่ช่วยให้อุปกรณ์ทุกอย่างเชื่อมต่อกัน

 



Vodafone เป็นอีกหนึ่งค่ายยักษ์ที่ติดตามเรื่อง IoT ไม่น้อยกว่าใคร แน่นอนว่าบริการล่าสุดที่เปิดตัวเรียกว่า Economy of Things ที่เป็นแพลตฟอร์มให้อุปกรณ์ต่างๆ เชื่มอต่อกันได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพราะจะเป็นแพลตฟอร์มศูนย์ลกางการเชื่อมต่อ


 โดยแพลตฟอร์มที่ว่านี้เปิดตัวไปล่าสุดวันนี้นี่เอง เรียกว่า Digital Asset Broker หรือ DAB โดยจะช่วยเปิดธุรกิจข้ามสายงานกันช่วยให้ Digital Asset หรืออุปกรณ์ต่างๆ ในสายงานหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ส่งผ่านเชื่อมต่อข้อมูลถึงกัน กล่าวคือ การเชือมต่อของอุปกรณ์ปกติแล้วจะมีข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการทำระบบอัตโนมัติในระหว่างที่ทำระบบจ่ายเงินในบริการต่างๆ ซึ่งในอนาคต อุปกรณ์ต่างๆ จะพูดคุยกันเองและทำงานได้อย่างรวดเร็วและลงตัวมากขึ้น โดยที่เราไม่รู้สึกเลยว่ามีการแยกการทำงานกัน ให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานโดยรวมที่ดียิ่งขึ้น




เช่นการเติมพลังงานของรถยนต์ไฟฟ้า การจ่ายเงินและการชาร์จพลังงานจะกลายเป็นทรานแซคชั่นเดียว ผู้ใช้งานเพียงแค่ลงมาเติมพลังงาน ตั้งแต่เริ่มต้นการเช็คสิทธิ์การใช้งาน การอนุญาตในการเติมพลังงานระบุตัวตน รุ่นอย่างถูกต้อง รวมถึงการจ่ายเงิน จะอยู่ด้วยกัน โดยที่อุปกรณ์และระบบทุกอย่างจะจัดการด้วยตัวมันเอง รวมไปถึงการชำระค่าบริการ โดยที่ผู้ใช้งานอย่างเราทำแค่ครั้งเดียว หรือแค่เอาหัวจ่ายมาเสียบชาร์จเข้ากับรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้นเอง


โดยพาร์ทเนอร์ของ Vodafone อย่าง Mastercasd ก็เป็นส่วนนึงในแพลตฟอร์ม DAB ซึ่งจะช่วยในการใช้จ่าย mobile wallet และ DAB ได้ใช้ blockchain technoloty ในการตรวจสอบการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว


ที่มา IoTTechnews

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565

อุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้โทรผ่านเครือข่าย 5G จะมีมากถึง 117 ล้านเครื่องในปี 2026

 



    อย่างที่เรารู้กันว่ามือถือเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในยุคปัจจจุบัน แต่ทว่าในปี 2026 จะมีอุปกรณ์ที่ไม่ต้องใช้งานเรื่องการโทรจะมีจำนวนมากถึง 117 เครื่อง อาทิเช่น Tablet , CPE  และ telematics จะเป็นกลุ่มใหญ่ 3 กลุ่มหลักของอุปกรณ์เหล่านี้


5G เรียกว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับ Smartphone ในปี 2021 ที่ผ่านมา แต่สำหรับก้าวต่อไปคือ อุปกรณ์ที่ไม่ใช่ Smartphone ซึ่ง Broadband 5G  กำลังจะเข้ามาอย่างรวดเร็ว โดย TRS คาดว่า ประมาณ 11 ล้านอุปกรณ์ที่รองรับ 5G ถูกส่งออกไปยังตลาดในปี 2021  ซึ่งเป็นอุปกกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน 3GPP release 16 ทั้งในวงการอุตสาหกรรม ยานยนต์ และกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2022 และอีกส่วนนึงก็คือ 5G แบบ SA ที่ใช้เริ่มมีงานกันในประเทศจีนกับการขนส่งต่างๆ นั่นเอง


ส่วนในประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้าประเทศอื่น เริ่มมีการให้บริการ 5G แบบ SA กันไปแล้วและแน่นอนว่าหลายอุตสาหกรรมก็เริ่มที่จะมีผู้ให้บริการเข้าไปทำโครงการ หรือเข้าไปนำเสนอรูปแบบการนำทั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปใช้งานจริง ที่จะช่วยให้ประหยัดต้นทุน เวลา และได้การผลิตที่มีคุณภาพ อีกไม่กี่ปีคงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงกันอย่างชัดเจนมากขึ้น

   


วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565

โลกของ AR/VR เป็นยังไง ดูคลิปนี้สิ นี่แหล่ะ MetaVerse ของจริง

 



โลกของ AR/VR เป็นยังไง ดูคลิปนี้สิ นี่แหล่ะ MetaVerse ของจริง แน่นอน อีกไม่นาน คงจะอยู่ใกล้ตัวเราอย่างมาก ไม่นานนี้


เมื่อเราสวมใส่แว่น VR ก็จะเข้าสู่โลกของ AR และจะคงอยู่กับโลกจริง เป็นแบบคู่ขนาน อาจจะเรียกการเปลี่ยนผ่านของโลกลักษณะนี้ว่าเป็น MetaVerse ในช่วงก่อนจะเข้าไปสู่แบบฉบับเต็มที่เราอาจจะไม่ต้องเดินทางออกไปในสถานที่จริง สถานที่ทั้งหมดจะคู่ขนานโดยไม่ได้ผนวกกันแบบในคลิป

เห็นว่าอย่างไรกันบ้าง

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565

เทคโนโลยี 4G ครอบคลุมมากกว่า 60% บนอุปกรณ์ IoT



 

     จากข้อมูลของ Research ABI พบแอคทิวิตี้กว่า 52 แบบ บนอุปกรณ์ IoT ที่มีชิป cellular หรืออุปกรณ์ IoT ที่อาศัยการเชื่อมต่อบนโมบายล์เน็ตเวิร์กย้อนหลัง 2 ปี ได้รวบรวมข้อมูลเอาไว้และสรุปออกมาได้ว่า อุปกรณ์ IoT ที่ผ่าน 5G นั้นยังมีโมดูลที่รองรับ 5G อยู่ที่ 45 หมวด ซึ่งยังคงเป็นสิ่งใหม่บนโลกของ IoT


       ซึ่งข้อมูลดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจแต่อย่างใดเพราะ 5G เพิ่งจะมาไม่นานนักและอุปกรณ์ IoT โดยส่วนใหญ่ที่ทำงานอัตโนมัติได้ด้วยตนเองและรองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่คงที่นั้นยังอยู่ที่ตลาดของผู้ใช้งาน 5G นั่นเอง นั่นหมายถึงยังมีผู้ใช้งาน 5G น้อย และตลาดก็ยังคงไม่เติบโตมากตามปริมาณผู้ใช้งาน

        โดยเทรนด์ของเทคโนโลยีล่าสุดนั้นตัวโมดูลหรืออุปกรณ์ที่รองรับโดยส่วนใหญ่จะยังอยู่ที่ 4G ซึ่ง มีส่วนแบ่งตลาดหรือครอบคลุมไปกว่า 60% จากหมวดหมู่หรือกลุ่มของอุปกรณ์ IoT ชนิดต่างๆ ที่รองรับอัตราการส่งผ่านข้อมูลในระดับสูงทั้ง Cat.12 และ Cat20 และเทคโนโลยี 4G ก็เป็นที่ยอมรับใช้งานเป็นมาตรฐานทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวเลือกในการใช้งานทั้งระยะกลางและระยะยาว


      อีก 20 % ของหมวดหมู่อุปกรณ์ IoT อยู่ที่เทคโนโลยี LPWA (Low Power Wide Area) ถ้าจะชัดๆ ก็คือ NB-IoT และ LTE-M ซึ่ง LPWA ยังคงอยู่ในช่วงเติบโตอีกมากเลยทีเดียว นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ยังเป็นผู้นำในวงการ IoT ต่อไปอีกปีนึงเป็นอย่างน้อย

ที่มา IoTBusinessNews

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2565

รถเมล์โดยสารสุดฉลาดเกิดแล้วที่เพื่อนบ้าน VinBus เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการที่เวียดนาม

 


     เป็นอีกหนึ่งข่าวที่น่าสนใจสำหรับเพื่อนบ้านเรา ที่ชื่อว่า VinBus ซึ่งเป็นการให้บริการรถโดยสารประจำทางแบบรถไฟฟ้าสุดฉลาด ที่เอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้งานเพื่อความปลอดภัยในการโดยสารตลอดการเดินทาง ซึ่งเปิดให้บริการในเวียดนามไปเรียบร้อยแล้ว




VinBus เป็นบริษัทที่ให้บริการ รถไฟฟ้าโดยสารประจำทาง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเวียดนาม  โดยมีการผลิตและพัฒนาโดย VinFast ซึ่งเป็นโรงงานผลิตส่วนประกอบใน Hai Phong (ไฮฟอง) 


โดยตัวรถไฟฟ้าโดยสารประจำทางประจำทางมีสีเขียวเป็นสีฮีโร่ ที่ออกแบบมาเพื่อให้รู้สึกว่าเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน โดยทั้งจุดรับส่งผู้โดยสารก็จะเป็นโทนสีเขียวและสีเขียวก็แทนความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังานอีกทั้งบ่งบอกเรื่องของการป้องกันสุขภาพอีกต่างหาก 


โดยรถไฟฟ้าโดยสารประจำทาง จะอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร โดยมีระบบอัตโนมัติเพื่อควบคุมลักษณะการขับรถ และมีการเตือนเมื่อมีอันตรายหรือมีความเสี่ยง และยังมีโหมดปรับระดับอัตโนมัติให้เหมาะกับลักษณะของร่างกายผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ หรือเด็ก ผู้พิการ และ หญิงที่ตั้งครรภ์  อีกทั้งส่วนของให้บริการอื่นๆ อีกเพียบ เช่น บริการฟรี Wi-Fi มี USB Chargeing ให้ มีมอนิตเตอร์สำหรับความบันเทิง และมีกล้องในตัวรถสำหรับความปลอดภัยของผู้โดยสาร แน่นอนว่ากล้องรอบตัวรถสำหรับเซ็นเซอร์ในการเดินทางของตัวรถเองด้วย มีระบบการแจ้งเตือนต่างๆ เช่นมีรถเข้ามาใกล้ หรือจะเป็นเรื่องการจอดรถ


โดย VinBus มีแบตเตอรี่มาให้ความจุ 281 kWh ซึ่งจะสามารถขับเคลื่อนได้ระยะทาง 220-260 กิโลเมตร และสามารถชาร์จเต็มได้ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง โดยการชาร์จไว  150 kW เทคโนโลยีโดย StarCharge


และ VinBus ทุกคันจะมีการควบคุมและมอนิเตอร์จากส่วนกลาง ทั้งเรื่องการชาร์จ ความปลอดภัยในการเดินทาง การบำรุงรักษา การซ่อมบำรุง และ การทำความสะอาดอัตโนมัติจากในโรงจอดรถ ซึ่งส่วนของหลังคาเองก็จะรองรับเรื่องโซลาร์เซลอีกด้วย เพื่อช่วยประหยัดเรื่องพลังงานอีกทางนึง


เพื่อนบ้านมีทิศทางที่ชัดเจน และเป็นระบบ รวมถึงเราจะสังเกตุเห็นว่า ทั้งด้านการให้บริการต่างๆ รวมถึงหากมองด้านการทำงาน ตำแหน่งงานต่างๆ และอีกหลายส่วนที่เกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมๆ ที่เราเห็นในปัจจุบันในบ้านเรามากเลยทีเดียว งานนี้ต้องรอว่าบ้านเราจะออกมาในรูปแบบไหน ยังไง และจะตามเวียดนามทันไหม?

จาก iotnews.asia